Monday, June 4, 2012

วิถีของ Zen กับ Steve Jobs

 

zensmstevejobs

สตีฟ จอบส์ ยังไม่ตาย... และจะไม่มีวันตาย!

แม้สตีฟ จอบส์จะจากโลกนี้ไปแล้ว เมื่อเช้าวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ตามเวลาประเทศไทย ด้วยวัยเพียง 56 ปี สตีฟ จอบส์ผู้ชายที่ คนยุคปัจจุบันได้บันทึกชื่อเขาไว้ใน ทำเนียบเดียวกับ โทมัส แอลาเอดิสัน , เฮนรี่ ฟอร์ด หรือ แม้กระทั่ง ลีโอนาร์โด ดาวินซี และแน่นอนว่า พนักงานกว่า 12,000 ในบริษัทแอปเปิล สตีฟ จอบส์จะ เป็นอะไรไม่ได้นอกจาก "พระเจ้า" ของเขา

จากประวัติของสตีฟ จอบส์ เขาเคยออกเดินทงเพื่อตามหาจุดมุ่งหมายทางจิตวิญญาณอย่างจริงจัง ถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังจากออกจากมหาวิทยาลัย ได้เดินทางไปอินเดีย และทดลองใช้ชีวิตแบบนักบวช ที่นั่น ส่วนครั้งที่สอง ก็คือหลังจากโดนบีบให้ออกจาก บริษัทแอปเปิล สตีฟได้เดินทางไปศึกษาพุทธศาสนา นิกายเซนที่ญี่ปุ่น และเกือบจะตัดสินใจบวช ถ้าไม่ติดว่า เขารักงานที่ทำมากกว่าการบวช

สตีฟ จอบส์ ผู้ซึ่งนิตยสารไทม์ ได้สรุปไว้ว่าชั่วชีวิตของ สตีฟ จอบส์นัน เขาได้ปฎิวัติเปลี่ยนแปลง วงการอุตสาหกรรมถึง 6 อย่างด้วยกัน ได้แก่ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Mac), ภาพยนตร์ แอนิเมชัน (Pixar), ดนตรี (iPod + iTunes), โทรศัพท์ (iPhone), คอมพิวเตอร์แทบเล็ต (iPad), และการพิมพ์ระบบดิจิทัล

steve_jobs_zen1

แน่นอน สตีฟ จอบส์ ทำให้บริษัทแอปเปิล เป็นผู้นำนวัตกรรม นำหน้าคู่แข่งได้นั้น ส่วนหนึ่ง ก็เพราะ เขาใช้ วิธีคิดแบบเซน มาประยุกต์ใช้ ดังนั้นเรามาเรียนรู้วิถีของเซน ที่สตีฟ จอบส์ นำความคิดแบบพุทธศาสนา นิกายเซนของเขามาปรับใช้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นอยู่ในผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลได้อย่างน่าสนใจกันดีกว่า

อาหารส่วนใหญ่ที่เรากิน เราไม่ได้ผลิตด้วยตัวเอง เราสวมใส่เสื้อผ้าที่คนอื่นผลิต เราพูดภาษาที่คนอื่นพัฒนาขึ้น เราใช้คณิตศาสตร์ที่คนอื่นค่อย ๆ ปรับปรุงมาเรื่อย ๆ เราเป็นฝ่ายรับอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นคงน่าปลาบปลื้อมอย่างยิ่งถ้าเรสามารถสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่าง ที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ”

จิตที่ตื่นรู้

steve-jobs-got-angry

เซน ให้ความสำคัญกับการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ สตีฟ จอบส์ มองเห็นความเป็นไปได้ก่อนที่จะเห็นข้อจำกัด ในส่วนของวิธีบริการงานนั้น แม้ว่าสตีฟ จอบส์จะเป็น CEO ที่เผด็จการ แต่เขาไม่มีอคติ ลูกน้องที่เขาเคยด่า อาจจะเป็นลูกรักในวันรุ่งขึ้นก็ได้ เขาไม่รังเกียการโต้แย้ง และสามารถเปลี่ยน ความคิดได้หากอีกฝ่ายมีเหตุผลที่ดีกว่าจริง ๆ

น้อยแต่มาก

imag2es

วิถีชีวิตของเซนเป็นวิถีชีวิตที่ต้องการความสำรวมอย่างยิ่ง สำรวมของเซนไม่ได้หมายถึง พอดี เท่านั้น แต่ยังหมายถึงยิ่งน้อยยิ่งดี เพราะคำว่า พอดีของแต่ละคนไม่เท่ากัน และโดยมากต้องมีมากเกินจำเป็นก่อนคนจึงยอมรับว่าพอดี แต่สตีฟ เชื่อว่ายิ่งน้อยเท่าไหร่ ยิ่งเรียบง่ายเท่าไหร่ ยิ่งดีต่อชีวิตเท่านั้น เขาจึงยืนกรานที่จะให้ไอโฟนมีเพียงปุ่มเดียว (ปุ่ม Home) ต่างจากโทรศัพท์มือถือถั่วไปในท้องตลาด ซึ่งแม้ว่าจะทำได้ยาก แต่ในที่สุดแอปเปิลก็สามารถพัฒนาโทรศัพท์มือถือแบบ Touch Screen ซึ่งใครๆ ก็ทำตามในที่สุด

ไม่แบ่งแยก

เซน ให้คุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ใบหญ้า ภูเขาลำธารเสมอกันกับตัวเอง ไม่มีการแบ่งแยก เขาไม่ได้สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นเพียงรับใช้มนุษย์เท่านั้น แต่เขามองว่า ผลิตภัณฑ์ของเขาเป็นสิ่งที่สำคัญและสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ และเขาก็พยายามทำให้คนมองเห็นความเชื่องโยงนั้น

applestaf

นอกจากนี้ ถ้าเราเดินไปในร้านแอปเปิลสโตร์ในนิวยอร์ก เราจะเห็น พนักงานหลากหลายเชื้อชาติ และมีพนักงานที่เป็นคนพิการด้วย ในแง่หนึ่ง เขาอาจจะต้องการรับพนักงานหลายๆ แบบ เพื่อให้บริการลูกค้าได้ตรงใจ หรือเป็นไปได้ว่า สตีฟ เห็นว่าทุกคนมีความสำคัญ และมนุษย์เราต้องพึ่งพาอาศัยกัน จะว่าไปแล้ว แอปเปิลเป็นบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่พนักงานมีความรู้สึกว่าได้รับการดูแลอย่างแท้จริง และตระหนักว่าความสำเร็จของบริษัท คือความสำเร็จของพนักงานทุกคน (อ่านบทความ พนักงานเพียง 3% คิดว่า Steve Jobs ทำงานไม่ดีพอ)

ทำหน้าที่

ครั้งหนึ่งมีผู้ถามหลวงจีน มูลู ซึ่งเป็นปรมาจารย์เซนท่านหนึ่งว่า “เราต้องนุ่มห่มเสื้อผ้าทุกวัน กินอาหารทุกวัน ทำอย่างไรจึงจะหลีกเลี่ยงการกระทำเช่นนี้ได้” อาจารย์ตอบว่า “เราก็ต้องนุ่มห่มเสื้อผ้าและกินอาหาร” เมื่อผู้ถามบอกว่าไม่เข้าใจ ท่านก็ยังให้ยืนยันคำตอบเดิม

เซน เชื่อว่าการทำหน้าที่คือเส้นทางแห่งการบรรลุธรรมของมนุษย์ ส่วนทำแล้วจะบรรลุธรรมหรือไม่ เซนไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก ซึ่งดูเหมือนว่าชีวิตของสตีฟก็ดำเนินตามนั้น เขาเพียงแต่ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด และอยากให้คนอื่นทำหน้าที่ของตนเองให้ดีเช่นกัน ซึ่งคนทั่วไปอาจมองว่าเขาย่อหย่อนเรื่องการทำกุศลไปบ้าง (สตีฟ จอบส์ไม่ทำงานการกุศล และสั่งยกเลิกทุกโครงการที่แอปเปิลทำเพื่อการกุศลตั้งแต่ปี 1997)  แต่เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า สตีฟ จอบส์เป็นตัวอย่างของนักสู้ ที่เป็นผู้ชนะโดยพึ่งพาตนเองอย่างแท้จริง

อาหารส่วนใหญ่ที่เรากิน เราไม่ได้ผลิตด้วยตัวเอง เราสวมใส่เสื้อผ้าที่คนอื่นผลิต เราพูดภาษาที่คนอื่นพัฒนาขึ้น เราใช้คณิตศาสตร์ที่คนอื่นค่อย ๆ ปรับปรุงมาเรื่อย ๆ เราเป็นฝ่ายรับอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นคงน่าปลาบปลื้มอย่างยิ่งถ้าเราสามารถสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่าง ที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ถึงเวลาแล้วที่เราจะดูเขาเป็นแบบอย่าง และเก็บเกี่ยวความคิดดี ๆ ของเขา ไม่ใช่แค่เป็นเพียง เจ้าของสิ่งที่เขาสร้างขึ้นมาเท่านั้น สตีฟทำหน้าที่ของเขาอย่างดีที่สุด และมอบเครื่องมือที่ไม่มีใครเคยสร้างไว้ให้กับมนุษย์ชาติ ส่วนมรดกของเขาจะถูกใช้ไปในทางไหนไม่ใช่หน้าที่ของ สตีฟ อีกต่อไป เพราะโลกอยู่ในมือของคนทียังมีชีวิตอยู่เท่านั้น

สิ่งที่เขา สตีฟ จอบส์ ได้ทำไว้ให้กับโลกใบนี้ จะนานอีกกี่ปี… ก็ไม่มีวันตาย

 

ที่มา : นิตยสาร Secret ฉบับที่ 81 10 พ.ย. 5, รูปจาก Eric Draws

0 Responses to “วิถีของ Zen กับ Steve Jobs”

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...
All Rights Reserved iPhoneAppTube | Blogger Template by Bloggermint