Wednesday, May 23, 2012
เปรียบมวยหมัดต่อหมัด 4 Mobile OS ระหว่าง iOS - Android - Windows Phone - BlackBerryOS
ชอบบทความนี้ ช่วยกันคลิก like/ถูกใจ/+1 กันนะครับ
iOS, Android, Windows Phone, BlackBerry OS ซึ่งมาจากทั้งระบบปิดและระบบเปิด เป็นที่น่าสนใจว่า โอเอสไหน ที่น่าจะมีอนาคตที่สดใสมากที่สุด และโอเอสไหนที่ต้องเร่งปรับตัวก่อนจะกลายเป็นอดีตไป ซึ่งผู้ที่จะกำหนดความเป็นไปมีทั้ง ผู้ผลิต ผู้พัฒนา ผู้ใช้งาน ซึ่งต่างมีผลต่อความอยู่รอดด้วยกันทั้งสิ้น หลายคนอาจจะต้องการทราบว่า Windows Phone จะวางตลาดพร้อมกับโนกียนั้น จะกลับมาเป็นแย่งชิงตลาดสมาร์ทโฟนที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือด ได้หรือไม่ iPhone ที่ไม่มี Steve Jobs แล้วจะยังเป็นผู้นำนวัตกรรมต่อไปอีกหรือเปล่า Android จะขยายตลาดไปได้อีกแค่ไหน บีบี จะฟื้นคืนกลับมาหรือไม่
หากเปรียบเทียบจุดเด่นจุดด้อยของโอเอสสำหรับสมาร์ทโฟนของแต่ละตัว ก็ต้องมองในทุกมิติ สำหรับคนสนใจว่า จุดเด่น จุดด้อยของ iOS – Android – Windows Phone – BlackBerry อย่างไรบ้างสามารถดูได้ที่ infographic ท้ายบทความ
iOS
โอเอสระบบปิดของผลิตภัณฑ์กของแอปเปิล ถือว่ามีต้นทุนที่ดีติดลมบนอยู่ในใจผู้ใช้งานไปแล้ว แต่มีการวางรากฐาน และสร้าง ecosystem ให้เกิดขึ้นได้ ตัวเครื่องมีดีไซน์ที่น่าสนใจ และมี แอพพลิเคชันให้ใช้งานอยู่มากมายมหาศาล ซึ่งการมี App Store และ iTunes ทำให้ระบบ การจัดการแอพพลิเคชัน และระบบลิขสิทธิ์ทำได้ดีกว่าระบบอื่น ๆ ถือว่าเอื้ออำนวยต่อนัก พัฒนาแอพพลิเคชัน และคอนเทนต์
จุดอ่อนของ iOS ก็คือ การใช้งานแอพพลิเคชันไม่สามารถทำได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ต้องเปิดและปิดทีละแอพเท่านั้น ถือว่าไม่รองรับการทำงานแบบ มัลติทาสกิงอย่างแท้จริง ต่างจากแอนดรอยด์ที่สามารถทำได้ ส่วนจุดอ่อนต่อมา เดิมแอปเปิลมี iPhone เป็นหลัก ทำให้หน้าจอมีขนาดเดียว แต่หลังจากนี้ จะเริ่มมีหน้าจอที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งขนาด และความละเอียดของหน้าจอ ทำให้อนาคตการจัดการแอพพลิเคชันในแต่ละขนาด ต้องมีความยุ่งยากมากขึ้น ไม่ใช่ว่าทุกแอพพลิเคชันจะใช้ได้ทุกผลิตภัณฑ์เหมือนเดิม สุดท้ายที่มองข้ามไม่ได้เลยคือ User Interface ที่ทำออกมาหน้าตา เหมือนเดิมตลอด แม้จะใช้งานง่าย แต่ไม่มีอะไรแปลกใหม่ สำหรับผู้ใช้ แต่หากจะเปลี่ยนโครงสร้างหน้าจอ อาจจะกระทบกับการรองรับแอพพลิเคชันต่าง ๆ ที่มีอยู่ด้วย
Android OS
แอนดรอยด์ที่สมาร์ทโฟนจำนวนมากหยิบมาใช้ ด้วยความเป็นระบบเปิด ซึ่งได้สร้าง ปรากฎการณ์เปิดตลาดสมาร์ทโฟนให้กลายเป็นแมส ทำราคาลงได้ต่ำกว่า 5,000 บาท และอนาคตอาจจะฆ่า ฟีเจอร์โฟน ได้ รองรับการทำงานทั้ง สมาร์ทโฟน และแทบเล็ต จึง คุ้มค่าต่อการพัฒนาแอพพลิเคชันมารองรับ การพัฒนาระบบสามารถทำได้รวดเร็ว เพราะเป็นระบบ เปิด มีแอพพลิเคชันที่หลากหลาย เพราะใครก็สามารถนำเครื่องมือไปใช้งานได้ ยิ่งมี กูเกิลให้การสนับสนุนแนวทางยิ่งชัดเจน
จุดอ่อนของแอนดรอยด์ ที่เห็นชัดก็คือ การรองรับผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมีขนาดต่างๆ กัน มากเกินไป จนเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับนักพัฒนาแอพพลิเคชัน และแนวคิดสนับสนุนการ แบ่งปัน ทำให้ระบบลิขสิทธิ์และการเก็บเงินยังทำได้ไม่สมบูรณ์เท่ากับของ แอปเปิล และด้วยความเป็นระบบเปิดนี่เอง ทำให้สมาร์ทโฟนแบรนด์ใดก็ได้นำไปใส่ในผลิตภัณฑ์
ของตนเองได้ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มีเครื่องไม่ได้มาตราฐานและทำงานได้ไม่สมบูรณ์
Windows Phone OS
วินโดวส์โฟน ของไมโครซอฟท์ที่ร่วมมือกับโนเกีย หน้าจอส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (UI) ลื่นไหลดี การใช้งานคล่องแคล่ว ถือว่ามีความแปลกตา และสวยงาม ดึงดูดสายใจ ให้น่าใช้มาก ๆ ถือเป็นจุดเด่นที่ไมโครซอฟท์พัฒนาออกมาได้ดี้ แต่เหตุผลเดียวที่ Windows Phone จะไม่แจ้งเกิดในไทย ก็คือไม่รองรับการใช้งานภาษาไทย อีกทั้งยังเป็นระบบปิด แม้จะผ่าน มาเป็นปีแล้ว การพัฒนาภาษาไทยก็ยังไม่มี
ด้านการพัฒนาไมโครซอฟท์มีเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาแอพพลิเคชันที่ดีมาก เอื้อต่อการทำงานของนักพัฒนา เครื่องมือทุกอย่างงได้รับการการันตีคุณภาพ หากพนักพัฒนามองตลาดต่างประเทศ และไมโครซอฟท์เปิดให้ใช้เครื่อง
มือในการพัฒนาฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย จะเป็นการขยายตลาดได้เป็ฯอย่างดี
ดังนั้นถ้าไมโครซอฟท์และโนเกียจะกลับมาชิงตลาดได้ ต้อง boost ตลาดมาก ๆ ต้องสร้างการยอมรับจากผู้ใช้อีกครั้ง ซึ่งตัวเครื่องโนเกียถือว่า มีคุณภาพ และ ดีไซน์ที่สวยงามซอต์แวร์และโปรแกรมวินโดวส์โฟน ก็มีมากมาย แอพพลิเคชัน ที่มีอยู่อาจจะไม่มากมาย แต่ก็ครบถ้วน กลุ่มคนใช้จริง ๆอาจจะเป็นสาวกที่เหนียวแน่น กับโนเกีย หรือเป็นเครื่องที่ 3 ต่อจาก iPhone และ Android Phone แต่ในระยะเวลา อันใกล้ยังยากที่จะเป็นเครื่องหลัก
BlackBerry OS
สุดท้ายก็คือ BlackBerry ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่นในต่างจังหวัด เพราะสามารถแชตได้ และราคาไม่สูง แต่จุดอ่อนสำคัญคือ BB ฮาร์ดแวร์ไม่นิ่ง หน้าจอขนาดเล็กไม่เหมาะกับการใช้ งานแอพพลิเคชัน การทำหน้าจอทัชกรีนไม่เหมาะกับการพิมพ์แบบเดิม หรือตัว BB OS ไม่รองรับ การพัฒนาแอพพลิเคชันที่หลากหลาย หากยังหาจุดแข็งที่ชัดเจนไม่ได้ ด้วยข้อดึด้านทาง chat และ push mail ที่ปัจจุบัน OS อื่นทำได้ดีขึ้นกว่าเดิม ต่อไป BB จะอยู่ในตลาดได้ยาก
หากพิจารณาระหว่าง iOS ,Windows Phone OS ที่เป็นระบบปิด และ Android OS ที่เป็นระบบเปิดแล้ว ระบบเปิด จะสามารถพัฒนาได้เร็ว ช่วยขยายตลาดผู้ใช้ได้รวดเร็ว เปิดตลาดให้นักพัฒนา แต่อาจมี ทิศทางที่หลากหลายไม่แน่นอน ขึ้นกับหัวเรือใหม่ ส่วนระบบปิด จำกัดการพัฒนาไว้เพียงเจ้าของ ไอเดียเท่านั้น เช่น สตีฟ จอบส์ และบิล เกตส์ ต่อไปจะเห็นการประชันของ 2 ระบบ ว่าใคร จะเป็นผู้ชนะที่ครอบครองพื้นที่ผู้ใช้ และผลกำไรสูงที่สุด
คลิกที่รูป เพื่อดู infographic เข้าใจง่าย ในข้อแตกต่างของแต่ละโอเอส
เรียบเรียงจาก Post Today ฉบับวันที่ 2 พ.ค. 2555
บทความนี้เขียนและเรียบเรียงโดย: ST.GiZMo
ติดตามข่าวสาร ของ iPhone, iPad ได้ทาง อีเมล, RSS feed หรือ Facebook Page รับรองไม่พลาดข่าว และบทความน่าสนใจ ส่งตรงถึงคุณทุกวัน ถ้าหาเรื่องที่ต้องการไม่เจอ ลอง ค้นหาข้อมูลในกล่อง search รับรองเจอง่าย ในคลิกเดียว ติดต่อ AppTube ได้ที่ "iphoneapptube @ gmail.com"
0 Responses to “เปรียบมวยหมัดต่อหมัด 4 Mobile OS ระหว่าง iOS - Android - Windows Phone - BlackBerryOS”
Post a Comment